สารบัญ
สารบัญ
ไดอะแกรมเวนน์
แผนภาพเวนน์คืออะไร
ไดอะแกรมเวนน์เป็นแผนภูมิในรูปแบบกราฟิกประเภทหนึ่งที่สร้างจากวงกลมที่คาบเกี่ยวกัน วงกลมแต่ละวงแสดงถึงแนวคิดหรือกลุ่มข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยส่วนที่คาบเกี่ยวกันแสดงถึงคุณสมบัติที่มีร่วมกัน นี่ทำให้ไดอะแกรมเวนน์เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการเปรียบเทียบข้อมูลและการพิจารณาความน่าจะเป็น เมื่อวางแผนความคิดของคุณบนไดอะแกรมเวนน์ คุณจะเริ่มเห็นความสัมพันธ์และรูปแบบต่าง ๆ ปรากฏขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจหรือเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น การสร้างไดอะแกรมเวนน์ ทำให้การแสดงภาพแนวคิดที่คาบเกี่ยว เปรียบเทียบ และขัดกันเป็นไปอย่างง่ายดาย
ประเภทของไดอะแกรมเวนน์
ไดอะแกรมเวนน์สามารถนำเสนอได้หลายวิธี คุณอาจคุ้นเคยกับไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 3 วงมากที่สุด แต่ไดอะแกรมเวนน์นั้นมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะถูกนำมาใช้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน
ไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 2 วง
วงกลมสองวงคาบเกี่ยวกันที่ตรงกลาง
ไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 3 วง
วงกลมสามวงในรูปแบบสามเหลี่ยมที่มีจุดคาบเกี่ยวกันตรงกลาง
ไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 4 วง
วงกลมสี่วงในรูปแบบข้าวหลามตัดที่มีจุดคาบเกี่ยวกันตรงกลาง
ไดอะแกรมเอ็ดเวิร์ด - เวนน์
ไดอะแกรมเวนน์เวอร์ชันที่สี่ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1800 โดยนักชีววิทยาชาวอังกฤษชื่อแอนโทนี เอ็ดเวิร์ดส์ เขาเรียกมันว่าไดอะแกรมเอ็ดเวิร์ด - เวนน์ หรือไดอะแกรมอีวี แทนที่จะมีวงกลม 2-4 วง ไดอะแกรมอีวีได้รับแรงบันดาลใจมากจากรูปทรงของลูกเทนนิส ไดอะแกรมเวนน์ประเภทนี้ช่วยระบุและจัดหมวดหมู่ลักษณะที่คาบเกี่ยวกันระหว่างกลุ่มหรือแนวคิดต่าง ๆ จำนวนมาก แม้ว่าไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 2, 3 และ 4 วงแบบดั้งเดิมจะเหมาะที่สุดสำหรับชุดข้อมูลขนาดเล็ก แต่เอ็ดเวิร์ด-ไดอะแกรมเวนน์จะเหมาะที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวจากมุมมองที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ไดอะแกรมเวนน์ทุกประเภทใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบและเปรียบต่าง
ข้อดีของการใช้ไดอะแกรมเวนน์
เสน่ห์ของไดอะแกรมเวนน์อยู่ที่ความเรียบง่ายแต่ใช้งานได้หลากหลาย ไดอะแกรมเวนน์เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์นับตั้งแต่การตลาดไปจนถึงคณิตศาสตร์ ต่อไปนี้เป็นข้อดีบางประการของการใช้ไดอะแกรมเวนน์กับทีมของคุณ
มีประโยชน์ต่อการระดมสมอง
หากทีมของคุณกำลังมองหาวิธีที่รวดเร็ว ในการระดมสมอง และทราบถึงต้นตอของปัญหา ไดอะแกรมเวนน์อาจเป็นสิ่งที่คุณต้องการ การใช้วงกลมเพื่อแสดงแนวคิดที่เป็นไปได้ พื้นที่ที่คาบเกี่ยวกันสามารถช่วยให้เห็นได้ชัดว่าอะไรได้ผลดีที่สุดและเอื้อต่อกลยุทธ์ของคุณมากที่สุด
ดูความสัมพันธ์ระหว่างสองรายการ
เมื่อวงกลมสองวงภายในไดอะแกรมเวนน์คาบเกี่ยวกัน ส่วนที่คาบเกี่ยวกันจะแสดงจุดเชื่อมต่อระหว่างสองกลุ่มที่แตกต่างกัน สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างมากในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่าง ๆ และทำความเข้าใจให้มากขึ้นเกี่ยวกับข้อดีที่มีร่วมกัน
เปรียบเทียบตัวเลือก
ไดอะแกรมเวนน์แบบเปรียบเทียบและเปรียบต่างเป็นหนึ่งในไดอะแกรมยอดนิยมมากที่สุดที่คุณจะพบได้ในที่ทำงาน แผนภูมิภาพที่ไม่เหมือนใครนี้ช่วยให้ทีมสามารถแสดงการเปรียบเทียบที่จับต้องได้ระหว่างชุดข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างมาก ช่วยให้สามารถทำการตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น
จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ
แผนภูมิภาพเป็นวิธีที่ดีมากในการกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจตามสัญชาตญาณในคนหลากหลายกลุ่ม ในระหว่างการประชุมหรือสัมมนา การใช้ไดอะแกรมเวนน์สามารถช่วยให้ผู้พูดสื่อสารและจัดระเบียบความคิดของตนเองด้วยวิธีที่เข้าใจได้อย่างเป็นธรรมชาติ
แก้โจทย์คณิตศาสตร์ยาก ๆ
ไดอะแกรมเวนน์ถูกใช้มานับพันปีในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เมื่อนำไปใช้ในแง่คณิตศาสตร์ ไดอะแกรมเวนน์สามารถเปรียบเทียบตัวเลขและหาข้อสรุปความน่าจะเป็นได้ แทนที่จะเป็นเพียงแค่การเปรียบเทียบแนวคิดหรือไอเดีย
เมื่อไหร่ที่ควรใช้ไดอะแกรมเวนน์
หลากหลายอาชีพและหลากหลายสถานการณ์ต่างก็ใช้ไดอะแกรมเวนน์เป็นเครื่องมือในการแสดงความชัดเจนในการวัดและการจำแนกความสัมพันธ์ระหว่างรายการต่าง ๆ คุณสามารถพบไดอะแกรมเวนน์ได้ในหลายแวดวง ได้แก่:
การสอน
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ไดอะแกรมเวนน์เป็นที่นิยมในแวดวงต่าง ๆ เป็นอย่างมากนั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่ามันสามารถแปลงข้อมูลให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นจนแม้แต่เด็กก็สามารถตีความสัญลักษณ์เหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย การศึกษา ถือเป็นที่ที่ดีในการใช้ไดอะแกรมเวนน์เพราะเป็นการทำให้นักเรียนรู้จักแนวคิดเรื่องความน่าจะเป็นและความเชื่อมโยงกันระหว่างหลาย ๆ อ็อบเจกต์ นอกจากนี้ ยังช่วยปูพื้นฐานการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอีกด้วย
การตัดสินใจ
ไดอะแกรมเวนน์เป็นเครื่องมือที่ดีมากในการช่วยคุณตัดสินใจ เมื่อคุณจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างที่คาบเกี่ยวกันเพื่อทำการตัดสินใจ การสร้างไดอะแกรมเวนน์สามารถช่วยให้คุณวิเคราะห์ตัวเลือกต่าง ๆ ที่มี และตัวเลือกใดจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น คุณอาจมีลิสต์ไอเดียทางธุรกิจ และกำลังพยายามตัดสินใจว่าไอเดียใดดีที่สุดในการลงมือทำ ไดอะแกรมเวนน์สามารถช่วยคุณตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดได้โดยการระบุว่าจุดไหนเป็น “จุดที่พอดี” ในการทำกำไร มีความต้องการซื้อ และเป็นสิ่งที่คุณรักที่จะทำ
คณิตศาสตร์
ในสาขาคณิตศาสตร์ ไดอะแกรมเวนน์สามารถแสดงให้เห็นภาพความสัมพันธ์เชิงตรรกะระหว่างตัวเลขและพิจารณาผลของความน่าจะเป็นได้ ตัวอย่างเช่น นักคณิตศาสตร์อาจใช้ไดอะแกรมเวนน์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างซับเซตหรือตัวเลขต่าง ๆ เนื่องจากไดอะแกรมเวนน์สามารถช่วยคุณวัด เปรียบเทียบ และเชื่อมโยงชุดข้อมูลได้ จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าเราสามารถใช้แผนภูมิเฉพาะนี้ในการวิเคราะห์ค่าตัวเลขได้
สถิติ
เมื่อประเมินหรือคาดการณ์ผลลัพธ์ของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง คุณจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยให้เห็นภาพความเป็นไปได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ไดอะแกรมเวนน์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในสาขาสถิติและความน่าจะเป็น
ตรรกะ
โครงสร้างของไดอะแกรมเวนน์เป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาและเป็นเหตุเป็นผล การแยกแนวคิดหรือรายการต่าง ๆ ออกเป็นวงกลมในตำแหน่งเท่า ๆ กันทำให้เห็นภาพและทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มความคิดที่หลากหลายได้ง่ายยิ่งขึ้น
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ไดอะแกรมเวนน์มักถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้เห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างชุดของข้อมูล ไดอะแกรมดังกล่าวมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจว่าคลาส ชุด และอ็อบเจกต์ต่าง ๆ เกี่ยวข้องกันอย่างไรภายในระบบคอมพิวเตอร์ที่กำหนด และสามารถใช้เพื่อแสดงองค์ประกอบที่คล้ายกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ของโค้ดเพื่อสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นศาสตร์
ภาษาศาสตร์
ภาษาศาสตร์สากลประกอบไปด้วยเส้นทางและลำดับชั้นที่เกี่ยวโยงกัน ไดอะแกรมเวนน์มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่ศึกษาความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างภาษาและภาษาถิ่นต่าง ๆ ไดอะแกรมนี้ช่วยให้เห็นภาพความเชื่อมโยงเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย
ธุรกิจ
โดยทั่วไปแล้ว คุณอาจพบไดอะแกรมเวนน์ได้ในโลกธุรกิจ การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบข้อมูลอยู่เสมอ นี่ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจและแคมเปญเพื่อความสำเร็จในอนาคตได้
อภิธานศัพท์และสัญลักษณ์ของไดอะแกรมเวนน์
ไดอะแกรมเวนน์มีสัญลักษณ์จำนวนมากที่ควรเรียนรู้ไว้หากคุณต้องการใช้ไดอะแกรมประเภทนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ได้แก่ :
เชต
ชุดข้อมูลของอ็อบเจกต์หรือสมาชิกต่าง ๆ แต่ละชุดจะแสดงด้วยรูปทรงปิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวงกลม
ยูเนียน (∪)
จุดที่วงกลมสองวง (แทนแต่ละไอเดีย) เชื่อมต่อกัน ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ยูเนียน ∪ ตัวอย่างเช่น A ∪ B หมายถึงองค์ประกอบทั้งหมดที่อยู่ในเซต A หรือในเซต B หรือทั้งสองอย่าง
อินเตอร์เซกชัน (∩)
จุดตรงกลางของไดอะแกรมเวนน์ที่วงกลมทุกวงตัดกัน อินเตอร์เซกชันจะแทนด้วยสัญลักษณ์ ∩ ในตัวอย่างนี้ A ∩ B จะรวมองค์ประกอบทั้งหมดที่อยู่ในทั้ง A และ B
เซตสากล (U)
เซตหนึ่งที่มีข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจากไดอะแกรมเวนน์ของคุณ เซตสากลจะแทนด้วยสัญลักษณ์ U หรือบางครั้ง ξ
เซตว่าง (Ø)
เซตหนึ่งที่ไม่มีสมาชิกเลย
คอมพลีเมนต์ (')
เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีอยู่ในเซตสากล คอมพลีเมนต์ของเซต A (เขียนแทนด้วย A' หรือบางครั้งเป็น Ac) ซึ่งจะรวมถึงองค์ประกอบทั้งหมดที่ไม่อยู่ในเซต A แต่อยู่ในเซตสากล
วิธีสร้างไดอะแกรมเวนน์
วิธีสร้างไดอะแกรมเวนน์มีหลายวิธี แต่เทมเพลตที่เหมาะสมสามารถช่วยจัดรูปแบบและจัดโครงสร้างการวิเคราะห์เปรียบเทียบหรือเปรียบต่างได้ ต่อไปนี้คือวิธีการวาดไดอะแกรมเวนน์โดยใช้เทมเพลตไดอะแกรมเวนน์ที่ใช้งานง่ายของ Miro: เทมเพลตไดอะแกรมเวนน์:
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนแรก ให้จดอ็อบเจกต์ สมาชิก และไอเดียทั้งหมดที่คุณต้องการบรรยายให้เห็นภาพลงไป ชุดข้อมูลนี้จะเป็นเซตสากลของคุณ
ขั้นตอนที่ 2
ต่อไป ให้พิจารณาว่าใช้ไดอะแกรมเวนน์ประเภทไหนจะเหมาะสมที่สุด ตัวอย่างเช่น หากต้องการหาความเหมือนและความต่างระหว่างสามเซต คุณควรใช้ไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 3 วง
ขั้นตอนที่ 3
วาดวงกลมสำหรับเซตข้อมูลแต่ละเซต เทมเพลตมีวงกลมสามวงสำหรับแต่ละเซตอยู่แล้ว และคุณสามารถเพิ่มและลบแวดวงได้ตามความเหมาะสม
ขั้นตอนที่ 4
เพิ่มสมาชิกแต่ละรายการลงในไดอะแกรมของคุณ โดยขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกเหล่านั้นมีความเหมือนหรือความต่างกับเซตอื่น ๆ หรือไม่ สมาชิกที่ไม่มีความคล้ายคลึงกันจะอยู่ในวงกลมใดวงกลมหนึ่งของแต่ละเซต นั่นคือ A B หรือ C หากมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสมาชิกจาก A และ B สมาชิกที่ว่านี้จะอยู่ในส่วนที่คาบเกี่ยวกันของวงกลมสองวงนี้ นี่จะอยู่ในยูเนียนของไดอะแกรมเวนน์
หากคุณลักษณะของสมาชิก A B และ C เหมือนกัน สมาชิกที่ว่านี้จะอยู่ตรงกลางของไดอะแกรม ที่ซึ่งวงกลมทั้งหมดตัดกัน นี่จะถือเป็นจุดตัดของไดอะแกรม
ขั้นตอนที่ 5
เมื่อเพิ่มเซตทั้งหมดลงในไดอะแกรมแล้ว ก็ได้เวลาเติมสี ป้ายกำกับ และหมายเหตุให้กับไดอะแกรมเวนน์ แชร์ไดอะแกรมเวนน์กับทีม และแท็กสมาชิกในทีมเพื่อขอข้อมูลและข้อเสนอแนะจากพวกเขา
ไดอะแกรมเวนน์และทฤษฎีเซต
เราคุยกันไปก่อนหน้านี้แล้วว่าไดอะแกรมเวนน์มีประโยชน์อย่างไรในสาขาต่าง ๆ มาดูกันว่าไดอะแกรมเวนน์ที่ใช้ในสาขาคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าทฤษฎีเซตได้อย่างไร ทฤษฎีเซตถือเป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่จัดการกับคุณสมบัติที่มีร่วมกันและแตกต่างกันของอ็อบเจกต์ ไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 2 3 และ 4 วงถูกนำมาใช้คณิตศาสตร์ส่วนนี้ กระบวนการที่อยู่เบื้องหลังทฤษฎีเซตสอดรับกับโครงสร้างของไดอะแกรมเวนน์ เนื่องจากทั้งสองส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบอ็อบเจกต์ (หรือตัวเลข) หลายตัวในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ไดอะแกรมเวนน์สามารถช่วยแสดงให้เห็นถึงสมการของทฤษฎีเซตที่จะพิจารณาคุณสมบัติที่กลุ่มตัวเลขมีร่วมกัน "เซต" คือชุดอ็อบเจกต์ ที่แต่ละอ็อบเจกต์แทนหนึ่งสมาชิกจากสมาชิกทั้งหมด สมมติว่าเรามีไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 2 วง วงกลมวงหนึ่งเป็นสีแดง และอีกวงเป็นสีน้ำเงิน นี่คืออ็อบเจกต์ทั้งสองของเรา จุดศูนย์กลางที่อ็อบเจกต์ทั้งสองคาบเกี่ยวกันนั้นเรียกว่าจุดตัด ช่องว่างภายในจุดตัดแสดงถึงสิ่งที่สีแดงและสีน้ำเงินมีร่วมกัน นั่นคือ สีม่วง กระบวนการนี้สามารถนำไปใช้กับอ็อบเจกต์และความคล้ายคลึงกันที่คาบเกี่ยวกันได้หมด นับตั้งแต่สี ไปจนถึงตัวเลข ไปจนถึงกีฬา อ็อบเจกต์ต่าง ๆ สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ด้วยองค์ความรู้ของทฤษฎีเซตและไดอะแกรมเวนน์
การคำนวณความน่าจะเป็นด้วยไดอะแกรมเวนน์
สาขาอื่นที่ใช้ไดอะแกรมเวนน์อย่างแพร่หลายคือการคำนวณความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็นในแง่ของไดอะแกรมเวนน์คือเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการคาดการณ์ผลลัพธ์ของสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น คุณอาจใช้ไดอะแกรมเวนน์แบบวงกลม 2 วงเพื่อคำนวณความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ผู้คำนวณจะเริ่มด้วยการใส่ตัวเลขลงไปแทนที่จะเป็นแนวความคิดหรือไอเดียในวงกลม มาลองใช้ชุดไพ่เป็นตัวอย่างเพื่อแสดงว่าไดอะแกรมเวนน์ถูกนำมาใช้ในการคำนวณความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างไร ไพ่หนึ่งสำรับมีไพ่ 52 ใบ ถ้าไม่นับรวมโจ๊กเกอร์ กองไพ่ประกอบด้วยไพ่สี่ชุด โดยมีไพ่ 13 ชนิดในแต่ละชุด โดยคุณต้องการทราบความน่าจะเป็นที่จะจั่วได้ไพ่แหม่มโพธิ์แดง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแสดงถึงผลลัพธ์ทั้งหมดซึ่งมีไพ่ทั้งหมด 52 ใบ เนื่องจากมีแหม่มสี่ใบในหนึ่งสำรับ ความน่าจะเป็นในการจั่วได้ไพ่แหม่มคือ 4/52 ความน่าจะเป็นที่จะจั่วได้ไพ่โพธิ์แดงคือคือ 13/52 แต่ไพ่หนึ่งใบเป็นได้ทั้ง 2 แบบ คือ แหม่มและโพธิ์แดง (แหม่มโพธิ์แดง) วงกลมคาบเกี่ยวกันเพื่อแสดงให้เห็นว่าการ์ดใบนี้อยู่ในทั้งสองเซต การแสดงผลลัพธ์ให้ออกมาเป็นภาพด้วยไดอะแกรมเวนน์จะทำให้คุณไม่ต้องนับไพ่แหม่มโพธิ์แดงซ้ำ เมื่ออ้างอิงตามไดอะแกรมเวนน์ คุณจะใช้การคำนวณต่อไปนี้: 4+13-1 = 16 ความน่าจะเป็นที่จะจั่วได้ไฟแหม่มหรือโพธิ์แดงคือ 16/52 การคำนวณแบบนี้จะช่วยให้คนทราบถึงความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ความสำเร็จของโครงการ จำนวนลูกค้าที่คาดหวัง หรือผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาด ความน่าจะเป็นถือเป็นส่วนสำคัญในการติดตามและวัดความสำเร็จทางธุรกิจ
การใช้ไดอะแกรมเวนน์เพื่อเปรียบเทียบและเปรียบต่าง
การใช้ไดอะแกรมเวนน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งคือเป็นการใช้เครื่องมือสำหรับการระดมสมองโดยการเปรียบเทียบและเปรียบต่างซึ่งกันและกัน ไดอะแกรมเวนน์เปรียบเทียบและเปรียบต่างนั้นง่ายต่อการเข้าใจด้วยภาพ และสามารถแบ่งย่อยออกเป็นโครงสร้างง่าย ๆ เพื่อให้ตีความได้ง่าย ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังเขียนเรียงความเปรียบเทียบและเปรียบต่าง คุณอาจใช้ไดอะแกรมเวนน์เพื่อช่วยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างหลักระหว่างหัวข้อที่คุณเลือก ในการเขียนเรียงความเปรียบเทียบและเปรียบต่างให้น่าสนใจนั้น คุณจะต้องมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเกี่ยวกับลักษณะและความแตกต่างที่มีมาตั้งแต่แรกของหัวข้อ เริ่มด้วยการวาดวงกลมซ้อนกัน 2-4 วงแทนหัวข้อหลักหรือหัวข้อเปรียบเทียบ จากนั้น ให้เติมพื้นที่ที่คาบเกี่ยวกันด้วยคุณลักษณะที่หัวข้อที่ตัดกันนั้นมีร่วมกัน ช่องว่างด้านนอกที่ไม่เกี่ยวกันสามารถเติมลักษณะเฉพาะของหัวข้อลงไปได้ ซึ่งนั่นแสดงถึงความแตกต่าง จุดตัดตรงกลางจะแสดงถึงสิ่งที่เชื่อมโยงหัวข้อทั้งหมดเข้าด้วยกัน ก่อนเขียนเรียงความเปรียบเทียบและเปรียบต่าง คุณอาจพิจารณาใช้ไดอะแกรมเวนน์เพื่อช่วยวาดภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าหัวข้อของคุณมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และไม่เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ไดอะแกรมเวนน์เทียบกับไดอะแกรมออยเลอร์
ไดอะแกรมอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับเวนน์ไดอะแกรมมากคือ ไดอะแกรมออยเลอร์. ทั้งไดอะแกรมเวนน์และไดอะแกรมออยเลอร์ต่างก็อ้างอิงตามทฤษฎีเซตและประกอบด้วยวงกลมที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเซต อย่างไรก็ตาม ไดอะแกรมดังกล่าวนั้นต่างกัน ไดอะแกรมเวนน์แสดงความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดระหว่างเซตต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ในเชิงสมมุติฐาน ไดอะแกรมเวนน์ประกอบด้วยการรวมจุดตัดระหว่างสมาชิกที่เป็นไปได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ส่วนไดอะแกรมออยเลอร์แสดงเฉพาะการรวมจุดตัดหรือความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้วเท่านั้น โดยประกอบด้วยวงกลมที่รวม แยก หรือตัดกัน ข้อสังเกตสำคัญในการระบุว่าไดอะแกรมดังกล่าวเป็นไดอะแกรมเวนน์หรือไดอะแกรมออยเลอร์ก็คือการดูว่ามีจุดตัดที่ว่างอยู่หรือไม่ เมื่อใช้ไดอะแกรมเวนน์ คุณต้องแสดงจุดตัดระหว่างแต่ละเซต แม้ว่าจุดตัดนั้นจะว่างก็ตาม แต่ไดอะแกรมออยเลอร์แสดงเฉพาะจุดตัดที่ไม่ว่าง ไดอะแกรมออยเลอร์มักจะซับซ้อนกว่าไดอะแกรมเวนน์ มันถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายลำดับชั้นที่ซับซ้อน แสดงคำจำกัดความที่คาบเกี่ยวกัน และพิจารณาว่าข้อโต้แย้งเชิงตรรกะนั้นถูกต้องหรือไม่
ตัวอย่างไดอะแกรมเวนน์
ต่อไปนี้คือตัวอย่างที่นำใช้ได้จริงเกี่ยวกับวิธีใช้ไดอะแกรมเวนน์ในโลกของธุรกิจ สมมติว่าคุณต้องเปรียบเทียบบทบาทหรือความรับผิดชอบของทีมต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อให้เวิร์กโฟลว์มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น คุณต้องการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างทีมการตลาดและทีมพัฒนาเว็บไซต์ ทีมการตลาดรับหน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล การบริหารจัดการด้านกฎหมาย การวิจัยผู้บริโภค การนำเสนอในโซเชียลมีเดีย และการจัดการแบรนด์ ทีมพัฒนาเว็บไซต์จัดรับหน้าที่ออกแบบ UX และ UI, การจัดการแบรนด์, การทดสอบคุณภาพ, การวิเคราะห์ SEO, การจัดการโครงการ, การวิจัยผู้บริโภค และการวิเคราะห์ข้อมูล ในตัวอย่างไดอะแกรมเวนน์นี้ จุดตัดจะรวมพื้นที่ความรับผิดชอบที่คาบเกี่ยวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการแบรนด์ และการวิจัยผู้บริโภคเข้าด้วยกัน สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนที่ทีมการตลาดและทีมพัฒนาเว็บสามารถทำงานร่วมกันได้ ตัวอย่างไดอะแกรมเวนน์สามารถแสดงให้เห็นความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างอ็อบเจกต์หรือสมาชิกใด ๆ ก็ตามได้ ในที่ทำงาน ไดอะแกรมเวนน์จะให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความละเอียดสำหรับการระดมสมอง การพัฒนากลยุทธ์ และการเปรียบเทียบหรือหรือเปรียบต่างข้อโต้แย้ง